เรื่องน่ารู้

แนวทางการจัดการสัตว์ป่า
 (22 เมษายน 2554)

     การจัดการและการอนุรักษ์ประชากรสัตว์ป่าให้อยู่ได้ยั่งยืนถือเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความรู้หลากหลายสาขาทั้งด้านประชากร พันธุกรรม พฤติกรรม นิเวศวิทยาและภูมิศาสตร์อื่นๆ หลักสำคัญคือการใช้วิทยาศาสตร์ในการนำการจัดการ คือ การตอบคำถามหลักๆ

    

  



สัตว์ป่าอยู่ตรงไหน ใช้พื้นที่อย่างไร
     เป็นข้อมูลพื้นฐานและเบื้องต้นที่สุดว่าสัตว์ป่าที่เราต้องการอนุรักษ์ยังมีอยู่แท้จริงหรือไม่ากยังมีอยู่พวกมันใช้ชีวิตหากินบริเวณไหนมีการครอบครองพื้นที่
อย่างไร ชอบใช้บริเวณไหนมากกว่ากัน มีการอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาลบ้างหรือไม่

สัตว์ป่ามีจำนวนเท่าไหร่                         
     คำถามที่มักถูกถามเป็นประจำคือเสือโคร่งเหลืออยู่กี่ตัว ช้างเหลืออยู่กี่ตัวป็นคำถามที่ฟังดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะอบยากอะไรแต่ในความเป็นจริงเป็นคำถามที่ตอบยากที่สุดเพราะป่าช่วยบดบังสัตว์ป่าไว้และสัตว์ป่าเคลื่อนที่ได้ีการเกิดการตายมีการอพยพเข้าออกอยู่ตลอดเวลานศาสตร์แห่งการจัดการสัตว์ป่าการศึกษาเรื่องเทคนิคการสุ่มตัวอย่างเพื่อนับประชากรสัตว์ป่ามักถือเป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุด การจะตอบคำถามนี้ได้ด้วยความมั่นใจจึงจำเป็นต้องมีระบบการตรวจวัดที่มีคุณภาพ และเป็น ระบบ

ปัจจัยคุกคามคืออะไร...หนักหนาขนาดไหน
     อะไรคือปัจจัยคุกคามที่สำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนลงจากเป้าหมาย  โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่ปัจจัยคุกคามที่มีสาเหตุจากมนุษย์เป็นหลักเพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยากที่สัตว์ป่าจะปรับตัวให้ทัน ปัจจัยคุกคามโดยตรง เช่น การล่าสัตว์ชนิดนั้นๆ โดยตรง การล่าสัตว์ที่เป็นเหยื่อของผู้ล่า การขยายพื้นที่ทำกินการจุดไฟเผาป่า การเก็บหาของป่าจนเกินขอบเขต ส่วนปัจจัยคุกคามโดยอ้อมที่เป็นประเด็นที่เกิดจากมนุษย์ที่ชัดเจนในปัจจุบัน เช่น นโยบายการส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มุ่งแต่การขยายพื้้้นทีปลูกเป็นหลัก  การเลี้ยงวัวแบบปล่อยป่าตลอดจนปัญหาราษฎรขาดความตระหนักในผลกระทบระยะยาวของการใช้้ทรัพยากร


แนวทางการจัดการเพื่อลดปัจจัยคุกคามคืออะไร
     อะไรคือแนวทางการลดปัจจัยคุกคามขึ้นอยู่กับการระบุรายละเอียดของปัจจัยคุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อมปัญหาเฉพาะหน้า ที่ชัดเจน เช่น การจัดการกับปัญหาความอ่อนแอในการลาดตระเวน คือ การปรับปรุงศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการลาดตระเวนให้มีระบบลาดตระเวนที่เข้มแข็งบนพื้นฐานของข้อมูล ส่วนการจัดการเพื่อลดปัญหาราษฎรขาดความตระหนักในการอนุรักษ์คือ การเพิ่ม คุณภาพและแนวทางใหม่ๆในกิจกรรมธรรมชาติ ศึกษาปัญหาหลักในการจัดการอนุรักษ์สัตว์ป่าทั้ง 4 ข้อ มีความเกี่ยวโยงกันอย่างแน่นแฟ้น  หากนักจัดการพยายามตอบคำถาม ทั้ง 4 ข้อโดยการใช้ข้อมูลที่เป็นจริง ภายใต้หลักการอันเป็นวิทยาศาสตร์แล้วก็จะสามารถเป็นหลักประกันที่ยั่งยืนมั่งคงให้แก่สัตว์ป่าและถิ่นอาศัยได้อย่างมั่นคงขึ้น โดยใช้ขัอมูลเป็นตัวกำหนดทิศทางการจัดการ และปรับปรุงพัฒนาการอนุรักษ์ตามพื้ื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง